สั่งผลิตกระเป๋าช้อปปิ้ง ควรเลือกเนื้อผ้าอย่างไร

การสั่งทำกระเป๋าช้อปปิ้งเพื่อเป็นของพรีเมี่ยม ของแจก ของแถม กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน แต่สิ่งที่เราควรคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ ในการจะสั่งผลิตกระเป๋าผ้านั่นก็คือ การเลือกเนื้อผ้าให้ถูกต้องตามกลุ่มเป้าหมาย เพราะแต่ละเนื้อผ้ามีคุณภาพ ลักษณะการใช้งาน และราคาที่แตกต่างกัน วันนี้ DGP จะขอแนะนำเนื้อผ้าแต่ละประเภทที่คนส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ผลิตว่าแตกต่าง และเหมาะกับงบประมาณของเราอย่างไร

ผ้าแคนวาส

ผ้าแคนวาสมีรูปแบบที่แข็งแรง และทนทาน เหมาะกับการนำไปใส่ของที่มีน้ำหนักมากๆ เช่น อาหาร กระป๋อง หรือหนังสือ

ผ้าคอตตอน / ผ้าฝ้าย

ด้วยลักษณะเส้นใยของผ้าคอตตอน ทำให้กระเป๋าจะมีน้ำหนักที่เบา สามารถทำความสะอาดได้ง่าย และพกพาได้สะดวก

ผ้าปอ / ผ้ากระสอบ

เป็นผ้าที่มีสไตล์ที่ดูเรียบง่าย และมีเอกลักษณ์แบบธรรมชาติ อีกทั้งเป็นผ้าที่ช่วยประหยัดงบประมาณอีกด้วย

ผ้าไนลอน

ตัวเนื้อผ้าไนลอนมีคุณสมบัติพิเศษ ที่มีความทนทาน และตัวเนื้อผ้ายังสามารถป้องกันความเสียหายที่เกิดจากพวกน้ำมัน และสารเคมีต่างๆ ได้

ผ้าโพลีเอสเตอร์

สามารถนำมาใส่ของได้หลายประเภท เพราะตัวเนื้อผ้าสามารถทนความร้อน ปรับเปลี่ยนรูปทรงไปตามลักษณะ และน้ำหนักของสิ่งของ อีกทั้งยังดูดซึมสีพิมพ์ได้ดี

ผ้าโพลีโพรพิลิน / ผ้า PP

ผ้าพลาสติกที่มีคุณสมบัติกันน้ำได้ จึงเหมาะกับการนำมาใส่สิ่งที่หากคว่ำแล้วสามารถหกได้ เช่น ขวดน้ำดื่ม หรือขวดซอส

ผ้าโพลียูริเทน / ผ้า PU (ผ้าเคลือบพลาสติก)

ลักษณะคล้ายกับผ้าคอตตอนคือมีน้ำหนักที่เบามาก แต่อย่างไรก็ตามกระเป๋าส่วนใหญ่จะเป็นแบบขึ้นทรงไว้ ทำให้เหมาะกับการนำมาใส่ของจำพวกเอกสาร หรือเครื่องเขียน

ผ้าโพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC)

ผ้า PVC เป็นผ้าพลาสติกที่มีความเหนียวที่สุดเมื่อทำการขึ้นรูป ผลิตได้ตามรูปแบบที่ต้องการ จึงสามารถนำมาใส่สิ่งของอะไรก็ได้ และเป็นผ้าไม่กี่แบบที่ลักษณะผ้าจะเป็นแบบโปร่งใส

ตารางเปรียบเทียบเนื้อผ้าตามการใช้งาน

พกพาง่าย

ราคาถูกที่สุด

ใส่ของที่มีน้ำหนักมาก

ทำความสะอาดง่ายที่สุด

ใช้งานได้นานที่สุด

ผ้าโพลีโพรพิลิน

ผ้าปอ

ผ้าแคนวาส

ผ้าโพลีโพรพิลิน

ผ้าแคนวาส

ผ้าไนลอน

ผ้าโพลีเอสเตอร์

ผ้าไนลอน

ผ้าโพลีเอสเตอร์

ผ้าโพลีโพรพิลิน

ผ้า PVC

ผ้าโพลีโพรพิลิน

ผ้าโพลีเอสเตอร์

ผ้า PVC

ผ้าโพลียูริเทน

ผ้าโพลียูริเทน

ผ้าโพลียูริเทน

ผ้าคอตตอน

ผ้าโพลียูริเทน

ผ้าโพลีเอสเตอร์

นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีผ้าชนิดอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ผ้าเดนิม ผ้าฟลีซ และผ้าไวนิล แต่ตามหลักทั่วไปแล้วคุณควรเลือกเนื้อผ้าที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ และตามรูปแบบการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายของคุณให้มากที่สุด

กระเป๋าผ้าใยสังเคราะห์ VS กระเป๋าผ้าใยธรรมชาติ

  

จากที่ได้กล่าวถึงเนื้อผ้าข้างต้นนี้ สามารถแบ่งประเภทเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ผ้าใยธรรมชาติ และผ้าใยสังเคราะห์ เพราะทั้งสองประเภทล้วนมีข้อดี และข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป DGP จึงได้สรุปข้อดี ข้อเสียเบื้องต้นของทั้งสองประเภท สำหรับไว้ประกอบการตัดสินใจเลือกเนื้อผ้าในการสั่งซื้อได้มากขึ้น

ผ้าใยสังเคราะห์

(โพลีโพรพีลีน, ไนลอน, โพลียูรีเทน, โพลีเอสเตอร์และพีวีซี)

ผ้าใยธรรมชาติ

(ปอ, ผ้าคอตตอน และผ้าแคนวาส)

  ข้อดี

  · ใช้งานได้อเนกประสงค์

  · แข็งแรง

  · มีความยืดหยุ่น

  · ส่วนใหญ่กันน้ำ, เชื้อรา,
  · น้ำค้าง, กลิ่น และรอยย่น

  · ขึ้นรูปทรงได้ตามแบบที่
  · ต้องการ

  · ทำความสะอาดง่าย

  · ราคาไม่แพง

ข้อเสีย

· ทำจากทรัพยากรที่ไม่หมุน
· เวียน เช่นน้ำมันปิโตรเลียม

· ส่วนใหญ่ไม่สามารถย่อย
· สลายทางชีวภาพ หรือใช้
· เวลาหลายศตวรรษในการ
· ย่อยสลายในหลุมฝังกลบ

· ไวไฟ

 

 

 

ข้อดี

· แข็งแรง

· ทำจากทรัพยากรหมุนเวียน

· กระบวนการผลิตต้องการ
· พลังงานแค่เพียงเล็กน้อย

· ลดการปล่อยเชื้อเพลิง

· สามารถย่อยสลายได้

 

 

 

ข้อเสีย

· หดตัวได้ง่าย

· พืชอาจได้รับการบำบัดด้วยยาฆ่า
· แมลง

· สีพิมพ์มีโอกาสตก และเลือนหาย
· ได้

· มีรอยย่น และยับ

· ดูดซับน้ำ

· เมื่อใช้ซ้ำไปนานๆ มีโอกาสขาด
· ออกจากกัน

· มักจะมีราคาแพงกว่า

จากตารางจะเห็นได้ว่าถึงแม้ทั้งสองประเภทจะมีข้อดี ข้อเสียที่ต่างกัน แต่มีข้อดีอย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือความแข็งแรง อยู่ที่ว่าคุณอยากได้การใช้งานในด้านใดมากกว่ากัน เช่น หากอยากดูแลรักษาง่ายก็ควรเลือกใยสังเคราะห์ หรืออยากได้สิ่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็ให้เลือกใยธรรมชาติแทน

References : https://www.qualitylogoproducts.com/promo-university/how-to-choose-a-tote-bag.htm